ภาษา:ภาษาไทย

ครบรอบ 5 ปีการจัดประชุมสุดยอด 1 แถบ 1 เส้นทาง : รู้จัก“เส้นทางสายไหมดิจิทัล”

criPublished: 2022-05-18 22:21:30
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

โครงการเส้นทางสายไหมดิจิทัลนอกจากจะเป็นการสร้างนวัตกรรมให้กับโลกที่เชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกันภายใต้เทคโนโลยีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ที่กำลังมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์โลก รวมถึงบริษัทดิจิทัลชั้นนำของจีนที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล คือ

กลุ่มนวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลDigital Economy Innovative Enterprisesกลุ่มนวัตกรรมซอฟต์แวร์ของจีนChinese Innovative Software Enterprisesกลุ่มบริษัทอินเทอร์เน็ตจีนChinese Internet Companies

Huawei

Tsinghua Unigroup

Haier

Hikvision

Midea

เส้นทางการเติบโตสู่ผู้นำด้านเทคโนโลยีจีนจึงไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายของจีน เพราะความตั้งใจที่เดินหน้าการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจังของรัฐบาลจีนเรื่อง เส้นทางสายไหมทางดิจิทัล (DSR) เป็นเป้าหมายของจีนในการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศต่าง ๆ ด้วย ยุทธศาสตร์การหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ที่นอกจากเชื่อมโยงเศรษฐกิจของทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน ทั้งเส้นทางสายไหมทางบก (Silk Road Economic Belt : One Belt) และเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road : One Road) จีนในฐานะที่เคยเป็นผู้ตามเทคโนโลยีแต่ทันทีที่จีนพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย 5G แบบสแตนด์อโลน (stand-alone 5G network) ได้สำเร็จ และจีนได้ทดลองใช้เป็นประเทศแรก ๆ ของโลก ภาพลักษณ์ใหม่ของจีนกลายเป็นมหาอำนาจผู้นำด้านเทคโนโลยี ประชากรของจีนเป็นกลุ่มประชากรดิจิทัลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี

ในฟอรั่มความร่วมมือระหว่างประเทศ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2017 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังกล่าวไว้ว่า จีนจะสร้าง“Digital Silk Road” เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศตามแนวคิดยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative โดยมุ่งเน้นที่เศรษฐกิจดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีควอนตั้ม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดเส้นทางสายไหมทางดิจิทัล ได้แก่ เคเบิลออปติกทางบกและใต้ทะเล ระบบดาวเทียมสำรวจและสื่อสาร การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ 5G เทคโนโลยีดิจิทัลหรือแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ทำให้การสร้างความเป็นอุตสาหกรรมเชิงดิจิทัล (Digital Industrialization) และการสร้างความเป็นดิจิทัลให้แก่อุตสาหกรรม (Industry Digitalization) ในอนาคตเติบโตตามนโยบายเส้นทางสายไหมดิจิทัลที่จะยกระดับความร่วมมือในมิติของเศรษฐกิจดิจิทัล ภูมิรัฐศาสตร์ และระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

อ.ดร.ชาดา เตรียมวิทยา

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม คณะศิลปศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

และ

รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการ 42 บางกอก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

首页上一页12 2

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn